Laploy Web Board
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

5 posters

Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 13th March 2011, 10:30 pm

นิยามกฏทางธุรกิจจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูล.......
.....ในแผนภูมิ ERD ที่ผ่านมา มีกฏทางธุรกิจว่าในตาราง Publication หนังสือทุกเล่มอย่างน้อยต้องมีผู้แต่งหนึ่งคน
และหนังสือบางเล่มอาจมีผู้แต่งสองคนหรือมากกว่าก็ได้......

อันนี้อิง ERD รูปที่ 4.2 หน้า 91 ครับ
จากที่ดู Connectivity คือ 1 สิ่งตีพิมพ์จะมีผู้เขียนได้เพียง 1
ผู้เขียน 1 คนสามารถมีสิ่งตีพิมพ์ได้หลายเล่ม/ฉบับ
Particapation คือ ผู้เขียน 1 คนต้องเขียนหนังสือ/มีสิ่งตีพิมพ์อย่างน้อย 0 (คือไม่มีก็ได้)
สิ่งตีพิมพ์ 1 เล่ม/ฉบับถูกเขียนโดยผู้เขียนได้อย่างน้อยสุดคือ 1 คน

จึงไม่น่าจะตีความหมายได้ว่าหนังสือบางเล่มอาจมีผู้แต่งสองคนหรือมากกว่าก็ได้ หรือเปล่าครับผม
(แต่อันนี้ไม่เข้าใจว่า entity Review คืออะไรครับผม)

ขอบคุณครับ

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty มากกว่าหนึ่งคนก็ได้

ตั้งหัวข้อ  Admin 20th March 2011, 7:52 pm

ประเด็นคือหนังสือบางเล่มอาจมีผู้แต่งมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ เช่นหนังสือ text book คอมพิวเตอร์บางเล่ม มีผู้เขียนร่วมกันเกือบสิบคน แต่ในทางกลับกัน หนังสือเล่มใดก็ตาม จะมีจำนวนผู้เขียน้อยกว่าหนึ่งคนไม่ได้

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 215
Join date : 17/12/2009

http://laploy.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 20th March 2011, 8:23 pm

ประเด็นนั้นเข้าใจครับ

แต่ประเด็นที่ผมสงสัยนั้นคือว่า
จากในรูปหน้า 91 ครับ
entity Publication นั้นมี attribute คือ
- publication_id (pk)
- subject_id (fk)
- author_id (fk)
- title

และมี entity คือ Author
- author_id (pk)
- name

เส้น relationship ในนั้นบ่งว่า connectivity แบบ many อยู่ทาง entity Publication
ผมสมมติ data ตาม ER นะครับ

Publication
publication_id subject_id author_id title
1000123 1 1 Database
1000123 1 2 Database
1000123 1 3 Database

ประมาณนี้ครับ

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 20th March 2011, 8:41 pm

จริงๆผมเข้าใจความหมาย many นะครับ ว่าค่าของ entity Author 1 แถวสามารถปรากฏใน entity Publication ได้หลายๆแถว
แต่ผมสงสัยตรง "หนังสือบางเล่มอาจมีผู้แต่งมากกว่าหนึ่งคนก็ได้"
ซึ่งหากเขียน ER แบบนี้ มันน่าจะได้ค่าตามข้างต้น..
มันจะผิดหลักหรือไม่ครับ เพราะเขียนไว้ชัดเจนมากว่า publication_id เป็น pk

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty pk สามารถซ้ำได้

ตั้งหัวข้อ  Admin 20th March 2011, 10:01 pm

ที่คุณเข้าใจว่าผิดหลักการเพราะถือว่าหลักการคือ pk จะมีค่าซ้ำกันไม่ได้ใช่ไหมครับ โปรดเข้าใจว่า pk สามารถซ้ำได้ และเป็นธรรมชาติที่ pk จะมีค่าซ้ำ

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 215
Join date : 17/12/2009

http://laploy.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 20th March 2011, 11:28 pm

ถ้าอย่างนั้นจะมี primary key ไว้เพื่ออะไรครับ ในเมื่อสามารถมีค่าที่ซ้ำกันได้?

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 20th March 2011, 11:51 pm

เท่าที่ผมลองค้นหานะครับ
ref1 http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2db30470fe7c1443


1. สิทธิศักดิ์ คล่องดี กล่าวว่า
1.1 Primary Key หมายถึง สิ่งที่จะใช้บ่งบอกถึงความแตกต่างในสิ่งที่เรากำลังพูดถึง เช่น
- ถ้าเราพูดถึงพนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ Primary Key ก็จะหมายถึง รหัสพนักงานแต่ละคนซึ่งจะไม่ซ้ำกันเลย เมื่อพูดถึงรหัสพนักงานหมายเลขใดก็ตามเราจะสามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นพนักงาน คนใด
- ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราจะกล่าวถึงลูกหนี้แต่ละคน Primary Key ก็จะหมายถึงรหัสของลูกหนี้แต่ละคนนั่นเอง
- แล้วทำไมเราจึงไม่ใช้ชื่อและนามสกุลเป็น Primary Key สาเหตุก็เพราะว่า อาจเป็นไปได้ที่คน 2 คน จะมีชื่อเหมือนกันและนามสกุลเหมือนกัน ถ้าเป็นอย่างนี้ก็แสดงว่า ชื่อและนามสกุลไม่สามารถแยกความแตกต่างของบุคคลได้ เราจึงไม่นำเอาชื่อและนามสกุลมาเป็น Primary Key

2. ธาริน สิทธิธรรมชารี กล่าวว่า
2.1 Primary Key จะเป็นฟิลด์ที่มีค่าไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละเรคอร์ดในตารางนั้น เราสามารถใช้ฟิลด์ที่เป็น Primary Key นี้เป็นตัวแทนของตารางนั้นได้ทันที
2.2 Candidate Key คีย์คู่แข่ง เป็นฟิลด์หนึ่งหรือหลายฟิลด์ที่มีคุณสมบัติที่เป็น Primary Key ได้ แต่ไม่ได้เป็นคีย์หลัก เช่น ชื่อและนามสกุล สามารถรวมกันเป็นคีย์คู่แข่งได้
2.3 Composite Key เป็นฟิลด์ที่ใช้รวมกับฟิลด์อื่น ๆ ที่เป็น Composite Key เหมือนกัน มาใช้เป็น Primay Key ของตาราง
2.4 Foreign Key เป็นฟิลด์ในตารางหนึ่ง(ฝั่ง Many)ที่มีความสัมพันธ์กับฟิลด์ที่เป็น Primay Key อีกตารางหนึ่ง (ฝั่ง One) โดยที่ตารางทั้งสองมีความสัมพันธ์แบบ One-to-Many ต่อกัน

3. วิชัย ตฤษณาภัทร และสมชัย ชัยสกุลสุรินทร์ กล่าวว่า
3.1 สำหรับระบบฐานข้อมูล Primary Key คือ สิ่งที่กำหนดขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อป้องกันการป้อนข้อมูลซ้ำ โดยที่ Primary Key จะกำหนดจากฟิลด์ใน Table นั่งเอง และ Primary Key อาจจะกำหนดจากหนึ่งหรือหลายฟิลด์ก็ได้
3.2 ประโยชน์ของ Primary Key
3.2.1 ช่วยป้องกันการป้อนข้อมูลซ้ำ เมื่อกำหนดฟิลด์ใดเป็น Primary Key แล้ว ฟิลด์นั้นห้ามป้อนข้อมูลซ้ำ
3.2.2 ช่วยในการเรียงข้อมูล เมื่อกำหนดฟิลด์ใดเป็น Primary Key แล้ว จะถูกเรียงข้อมูลตามฟิลด์นั้นทันที
3.2.3 ช่วยป้องกันการละเว้น หรือไม่ป้อนข้อมูล ฟิลด์นั้นจะถูกบังคับว่าต้องป้อนข้อมูล ห้ามเว้นว่าง หรือเคาะ Enter ผ่านไปเฉย ๆ
3.2.4 ช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง Table ซึ่งเป็นข้อกำหนดของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์บังคับว่า ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 2 Table ต้องมี Table หนึ่งมีฟิลด์ที่กำหนดเป็น Primary Key
3.2.5 ช่วยในการ Join Table ใน Query

ref 2 http://en.wikipedia.org/wiki/Unique_key
ref 3 http://www.ehow.com/facts_5955562_definition-primary-key-database.html
ref 4 http://databases.about.com/cs/administration/g/primarykey.htm
ref 5 http://www.databasecompare.com/What-is-primary-key-and-unique-key.html

ผมเห็นว่าไปในแนวทางเดียวกันหมดเลยสำหรับ primary key น่ะครับ ว่ามันซ้ำกันไม่ได้

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 21st March 2011, 12:04 am

อ้างอิงจาก text book อีกตัวนะครับ ของ Apress ชื่อ Beginning Database Design From Novice to Professional เป็นคนละเล่มกับที่คุณลาภลอย reference ไว้ท้ายหนังสือนะครับ
ของคุณลาภลอยจะเป็น Beginning SQL Server 2008 for Developers: From Novice to Professional


Determining a Primary Key
A key is a field, or combination of fields, that is guaranteed to have a unique value for
every record in the table. It is possible to learn quite a bit about a problem by considering
which fields are likely to be possible keys. We will see later that there can be more than
one set of fields that can have unique values in a table. We choose one of these to be the
primary key and then use that to help us represent the relationships between tables.

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty สนุกดีด้วย

ตั้งหัวข้อ  Admin 21st March 2011, 6:11 am

แนวคิด pk แบบห้ามซ้ำกันเป็นคติโบราญ (มีที่มาจากข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ กลไกการบันทึกข้อมูลในเทปแม่เหล็ก ที่ต้องมีเลขเรียงลำดับ record) ในธรรมชาติ ไม่มีอะไรมาทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดว่า ห้ามค่าไอ้นี่ห้ามซ้ำกับค่าไอ้นู่น ดังนั้นในชีวิตจริง pk จึงซ้ำกันได้ เวลาคิวรีก็สนุกดีด้วย

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 215
Join date : 17/12/2009

http://laploy.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 21st March 2011, 6:32 am

อันนี้อ้างอิงจากอันไหนครับ

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty ต้องห้ามและบาปร้าย

ตั้งหัวข้อ  Admin 21st March 2011, 7:20 am

ไม่ได้อ้างอิงจากไหน ถ้าคุณไปถามนัก database ร้อยคน /// 95 คนจะตอบว่าค่าซ้ำใน pk เป็นสิ่งต้องห้ามและบาปร้าย ส่วนผมเป็น 5% ที่เหลือ เป็นพวกที่จะบอกคุณว่ามันโอเคและสนุก

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 215
Join date : 17/12/2009

http://laploy.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 21st March 2011, 9:29 am

แล้วสิ่งที่ถูกต้องจริงๆ ควรจะเป็นอย่างไรครับ
ถ้าไม่มีอ้างอิงก็คือคิดไปเองหรือเปล่าครับ คือตอนนี้ผมต้องการสิ่งที่ถูกต้องน่ะครับ ไม่ใช่เอาแค่ความสนุก

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty สนุกคะนองไป

ตั้งหัวข้อ  Admin 21st March 2011, 10:43 am

ที่ว่าสนุก ผมไม่ได้หมายถึงสนุกคะนองไป แต่หมายถึงเขียนคิวรีได้อย่างสนุก มีประสิทธิภาพ และได้คำตอบที่ถูกต้อง
ที่คุณสงสัยว่า pk ซ้ำกันไม่ผิดได้อย่างไร เช่น มีนักเรียนสองคนเลขประจำตัวเหมือนกัน หรือสินค้าสองรายการมีรหัสเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น

pk ------ name ------- position
001----- Alan--------- Manager
002 ---- Bram-------- Programmer
002 ---- Peter-------- Programmer
003 ---- Helen ------ Sale

ในตัวอย่างนี้มีพนักงานสองคนที่รหัสซ้ำกัน เห็นได้ชัดว่าผิด ต่อไปลองดูตัวอีกอัน

pk ------ name ------- position
001----- Alen----- Manager
002 ---- Peter-------- Programmer
002 ---- Peter-------- Programmer
003 ---- Helen ------ Sale

ในตัวอย่างนี้ pk 002 มีข้อมูลสอง row ที่ซ้ำกัน อย่างนี้ไม่ผิด แต่ก็ไม่มีประโยชน์เหมือนกัน ลองดูตัวอย่างอีกอัน

pk ------ Product ------ Color
1011 --- Hat ----------- Red
1012 --- Pen ----------- Blue
1012 --- Pen ----------- Red
1013 --- Table --------- Brow

ตัวอย่างนี้มี pk ซ้ำกัน แต่ไม่เสียหาย ผลลัพธ์จากคิวรีจอยตารางมักเป็นเช่นนี้อยู่เสมอ

คุณถามว่าอะไรคือผิดอะไรคือถูก ถ้าถามคน database ร้อยทั้งร้อยจะตอบว่า pk ซ้ำกันคือผิด แต่ผมกลับบอกว่าอาจผิดหรือถูกก็ได้ด้งตัวอย่างที่แสดงไว้ข้างบน

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 215
Join date : 17/12/2009

http://laploy.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 21st March 2011, 11:25 am

ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องการ join ตารางนะครับผม
เรื่องการ join ตารางนั้นเข้าใจครับ ว่าจะทำให้เกิดข้อมูลเช่นนั้น
แต่ผมพูดถึง entity เดียวเลยครับ
.
.
เน้นว่า entity เดียวนะครับ
.
.
ผมขออนุญาต quote นะครับ


ประเด็นนั้นเข้าใจครับ

แต่ประเด็นที่ผมสงสัยนั้นคือว่า
จากในรูปหน้า 91 ครับ
entity Publication นั้นมี attribute คือ
- publication_id (pk)
- subject_id (fk)
- author_id (fk)
- title

และมี entity คือ Author
- author_id (pk)
- name

เส้น relationship ในนั้นบ่งว่า connectivity แบบ many อยู่ทาง entity Publication
ผมสมมติ data ตาม ER นะครับ

Publication
publication_id subject_id author_id title
1000123 1 1 Database
1000123 1 2 Database
1000123 1 3 Database

ประมาณนี้ครับ

และจากตามตัวอย่างครับ




pk ------ name ------- position
001----- Alan--------- Manager
002 ---- Bram-------- Programmer
002 ---- Peter-------- Programmer
003 ---- Helen ------ Sale

ในตัวอย่างนี้มีพนักงานสองคนที่รหัสซ้ำกัน เห็นได้ชัดว่าผิด ต่อไปลองดูตัวอีกอัน

มันเป็นสิ่งเดียวกันที่ผมได้ยกตัวอย่างข้างต้นนะครับ

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty กฎเกณฑ์ธรรมชาติ

ตั้งหัวข้อ  Failure 21st March 2011, 2:41 pm

ในธรรมชาติ ไม่มีอะไรมาทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดว่า ห้ามค่าไอ้นี่ห้ามซ้ำกับค่าไอ้นู่น ดังนั้นในชีวิตจริง pk จึงซ้ำกันได้

เป็นประโยคน่าคิดมาก แต่ก็อันตรายมากด้วยนะครับ
แนวคิดและกฏเกณฑ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาสนองความต้องการของตนเอง และถ้ามีอำนาจมากพอก็บังคับหรือเกลี้ยกล่อมให้คนอื่นทำตาม
ในความเห็นของผม แนวคิดของ Admin ก็คือการฉีกทุกตำราที่คนส่วนใหญ่บนโลกยอมรับมัน
แต่ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่ง มันคือการปล่อยวางทุกแนวคิดและกฏเกณฑ์ โดยมองจากหลักความเป็นจริงที่สามารถเกิดขึ้นได้
ในโลกความเป็นจริงเหตุการณ์นอกเหนือทฤษฎีแบบนี้เกิดขึ้นได้บ่อย
นาย เอ โทษคนที่ทิ้งปัญหาไว้ให้โดยยกตำรามาอ้างอิง
นาย บี เข้าใจและยอมรับมัน โดยยกความเป็นจริงในธรรมชาติมาเป็นแนวคิด
แต่ไม่ว่ายังไงก็แล้ว ทั้งนายเอและนายบี ก็ยังคงต้องแก้ไขปัญหา

ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว เราจะยึดถืออะไรดี และเราจะปล่อยวางอะไรดี ???


Failure

จำนวนข้อความ : 1
Join date : 21/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty เรียน-ปล่อยวางทั้งหมด

ตั้งหัวข้อ  Admin 21st March 2011, 5:50 pm

คติ pk ไม่ซ้ำและใช้ auto number เป็นความเคยชินทางความคิด ลองดูตัวอย่างในตำราก็จะเป็นอย่างนี้เกือบทุกเล่ม ถือเป็นแนวคิดกระแสหลัก (mainstream concept) ของคน database ทั่วไป แต่ถ้าลองอ่านงานของคอดด์ (Edgar F. Codd)** จะเห็นว่าไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นข้อจำกัด

แต่ละคนมีวิถีทาง (ในการเรียน) ของตนเอง หากคุณเป็นนักเรียนรู้ด้วยตนเอง ก็จะมีวิธีหลายแบบ ส่วนวิธีของผมคือเรียนทั้งหมดทุกหลักการ เพื่อให้รู้ไว้ว่าใครมีแนวคิดอย่างไรบ้าง มีอะไรให้เลือกบ้าง อะไรที่ทำไม่ได้จริงๆ หรือทำได้แต่ไม่เหมาะ หรือไม่เป็นที่นิยม

เมื่อถึงเวลาใช้งานจริง จะมีข้อจำกัด เช่นข้อกำหนดจากนายจ้าง ค่านิยมในองค์กร ข้อบังคับของผู้บังคับบัญชาหรือลูกค้า ฯลฯ แม้แต่ในกรณีที่เป็นเจ้า คือมีอิสระเต็มที่ๆ จะเลือกอะไรก็ได้ ก็ยังมีข้อจำกัด เช่นความนถนัดของผู้ร่วมงาน ผู้รับเหมาย่อย ข้อกำหนดของโจทย์ ข้อจำกัดของ DBMS ความเหมาะสมของงาน ความประหยัด ฯลฯ ถึงที่สุดแล้วมิได้มีอิสระที่จะเลือกอะไรก็ได้ตามใจชอบ

ถ้าเลือกได้หรือจำเป็นต้องเลือก ผมขอเลือก ปล่อยวางทั้งหมด และเดินสายกลางจ้ะ

** http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.86.9277&rep=rep1&type=pdf

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 215
Join date : 17/12/2009

http://laploy.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 21st March 2011, 9:48 pm

ในเรื่องนี้ผมว่าประเด็นมันไม่ใช่เรื่องจะปล่อยวางไม่ปล่อยวางนะครับ
.
.
ต้องเข้าใจก่อนว่า นี่คือหนังสือ...
ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ที่ไม่รู้ก็ต้องซื้อหนังสือมาอ่าน...และก็ต้องการอ่านเพื่อที่จะเข้าใจ เพื่อที่จะได้รับรู้สิ่งที่ถูกต้องที่ทุกคนยอมรับ
หนังสือก็สมควรหรือไม่ ที่จะทำให้มันถูกต้องตามหลักสากล ที่ผู้คนยอมรับไว้ก่อน
.
.
ถามว่ามีแนวคิดที่แปลกแตกออกไป ผิดไหม.... ผมตอบว่าไม่ผิด
แต่.... การที่จะนำแนวคิดนั้นส่งมอบต่อให้ใครก็แล้วแต่ หากคนที่เขาว่างเปล่ามาก่อน เขาก็รับสิ่งนั้นไปเต็มๆ
สิ่งที่เขาได้รับไป สิ่งที่นำไปใช้ หากเขาต้องนำไปใช้ หรือเพื่อนำไปเป็นตำราเสริมประกอบการเรียน
ความรู้ที่เขานำไปใช้นั้นถึงแม้ว่าอนาคตสิ่งนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ถูก แต่เพราะไม่มีการยอมรับในวงกว้างหรือส่วนใหญ่
มีเพียงคนที่ยอมรับจุดนั้น 5% เนี่ย..คุณสามารถรับผิดชอบเขาคนนั้นได้หรือไม่
.
.
ตำราต่างชาติเขาค่อนข้างที่จะสนใจและใส่ใจในจุดนี้ในเรื่องความละเอียดอ่อนนี้มาก
ซึ่งหากว่ามีแนวคิดอะไรแปลกใหม่ หรือไม่เห็นด้วยกับทฤษฏีเก่าใดๆ เขาก็จะนำไปเขียนเป็น paper ทำวิจัยขึ้นมา
เพื่อให้ทุกคนยอมรับในทฤษฎีใหม่นั้นๆ
.
.
แต่คนอ่านไม่ใช่นะครับ ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องธรรมชาติ และเรื่องจริง จุดนี้น่าจะบ่งบอกได้ว่า นี่แหละธรรมชาติพร้อมทั้งเป็นเรื่องจริง
.
.
ที่พิมพ์มาทั้งหมดนี้ พิมพ์ด้วยความเคารพนะครับ ส่วนตัวผมชอบที่จะ discuss กันแบบนี้
เพราะจะได้ความรู้มาก ส่วนนึงก็ต้องขอบคุณคุณลาภลอยที่มีความเป็นผู้ใหญ่สูง ไม่ได้ใช้อารมณ์กลับมาแต่อย่างใด และพยายามที่จะอธิบาย
.
.
ส่วน reference ที่คุณลาภลอยได้นำมา ต้องขอขอบคุณมากครับ ผมขอนำไปอ่านก่อนแล้วกันครับ เนื่องจากยังไม่เคยอ่าน และยังไม่เข้าใจเรื่อง algebra มากนัก

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty ถามว่า

ตั้งหัวข้อ  Admin 21st March 2011, 11:14 pm

เพราะคุณถามว่า "ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว เราจะยึดถืออะไรดี และเราจะปล่อยวางอะไรดี ???"

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 215
Join date : 17/12/2009

http://laploy.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty ผิดหมดเลย

ตั้งหัวข้อ  Admin 21st March 2011, 11:28 pm

ถ้าตำราทุกเล่มเหมือนกันหมดคงไม่ดี เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นมีเพียงเล่มเดียวก็พอ ผมจึงพยายามให้มันไม่เหมือนกับตำราเล่มอื่นๆ (แต่ก็ทำได้ไม่ดีนัก) หากผู้อ่านๆ ตำราแล้วเชื่อตามนั้นคงไม่ดี เพราะสูตรข้อสี่ของกาลามสูตรคือ "อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา" ที่ผมเขียนไว้อาจผิดหมดเลยก็ได้นา

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 215
Join date : 17/12/2009

http://laploy.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 22nd March 2011, 7:31 am

เอ่อ ผมไม่ได้พิมพ์นะครับอันนั้น ลองอ่านชื่อดูครับ

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty สูตรข้อสี่ของกาลามสูตรคือ "อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา" สุดยอด

ตั้งหัวข้อ  decha 22nd March 2011, 9:54 am

หากเรายังไม่เจอ สถานะการจริงเราก็ไม่รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด
มันต้องพิสูตร มันก็เหมือนกันโลกนี้มีหลายศาสนา เหมือนประเทศเรามีหลายพรรคหลายสี
เหมือนภาษาหลายภาษา เหมือน DBMS ที่มีหลายตัว
เหมือนผัวที่มีหลายเมีย สุดท้ายก็อยู่ที่เราเลือก คงไม่มีใครคิดแทนกันได้หรอก

แต่บอกได้คำเดียวว่าหนังเสือที่อาจารย์เขียนออกมานั้น เทพ
หาได้ยากในหนังสือภาษาไทย ที่จะมีคนยอมเสียสละเวลาทำมันก็ออกมาได้ดีขนาดนี้
มันเหมือนเรามีที่ปรึกษาอยู่ข้างๆ

ธรรมทานหรือวิทยาทาน คือ การให้ความรู้เป็นทาน ถ้าเป็นความรู้ทางโลก เช่น ให้ศิลปวิทยาการต่างๆเรียกว่า วิทยาทาน หากเป็นความรู้ทางธรรม เช่น สอบให้ละชั่ว ประพฤติดี มีศีลธรรม เรียกว่า ธรรมทาน
เป็นกำลังใจให้สำหรับการทำความดีครับ

ยังรอเล่ม 3 ครับ

decha

จำนวนข้อความ : 7
Join date : 15/12/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty รับใช้ท่านผู้อ่าน

ตั้งหัวข้อ  Admin 22nd March 2011, 10:16 am

อุ๊บ... ขอโทษครับ ผิดคน
ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและคำติชม จะใช้เป็นกำลังใจเขียนเล่มต่อไปมารับใช้ท่านผู้อ่าน

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 215
Join date : 17/12/2009

http://laploy.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  darkcriminals 22nd March 2011, 4:16 pm

decha พิมพ์ว่า:หากเรายังไม่เจอ สถานะการจริงเราก็ไม่รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด
มันต้องพิสูตร มันก็เหมือนกันโลกนี้มีหลายศาสนา เหมือนประเทศเรามีหลายพรรคหลายสี
เหมือนภาษาหลายภาษา เหมือน DBMS ที่มีหลายตัว
เหมือนผัวที่มีหลายเมีย สุดท้ายก็อยู่ที่เราเลือก คงไม่มีใครคิดแทนกันได้หรอก

แต่บอกได้คำเดียวว่าหนังเสือที่อาจารย์เขียนออกมานั้น เทพ
หาได้ยากในหนังสือภาษาไทย ที่จะมีคนยอมเสียสละเวลาทำมันก็ออกมาได้ดีขนาดนี้
มันเหมือนเรามีที่ปรึกษาอยู่ข้างๆ

ธรรมทานหรือวิทยาทาน คือ การให้ความรู้เป็นทาน ถ้าเป็นความรู้ทางโลก เช่น ให้ศิลปวิทยาการต่างๆเรียกว่า วิทยาทาน หากเป็นความรู้ทางธรรม เช่น สอบให้ละชั่ว ประพฤติดี มีศีลธรรม เรียกว่า ธรรมทาน
เป็นกำลังใจให้สำหรับการทำความดีครับ

ยังรอเล่ม 3 ครับ

DBMS ก็ implement จาก ทฤษฏีครับ ยกเว้นคือเรื่อง feature คือของใครของมันครับ

darkcriminals

จำนวนข้อความ : 19
Join date : 13/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม Empty Re: มีข้อสงสัยในบทที่ 4 หน้า 93 ครับผม

ตั้งหัวข้อ  boilza 27th March 2011, 7:53 am

ชอบการอภิปรายลักษณะนี้จัง เกิดประโยชน์โดยแท้

boilza

จำนวนข้อความ : 5
Join date : 28/01/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ